พระครูภาวนาธีรวรคุณ (ไพรัช)
พระครูภาวนาธีรวรคุณ (ไพรัช)
น.ธ. เอก, ป.ธ. ๔, อภิธรรมบัณฑิต
เจ้าอาวาสวัดเพลง (กลางสวน)
เจ้าคณะแขวงบางเชือกหนัง เขต ๒
พระอุปัชฌาย์
แขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
ประวัติเจ้าอาวาส
๑. ชื่อ
พระครูภาวนาธีรวรคุณ ฉายา วรโท นามสกุล ธรรมชาติ อายุ ๕๖ ปี พรรษา ๓๕
วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ.๔, อภิธรรมบัณฑิต
วัดเพลง (กลางสวน) ๑๑๒ ถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย ๔ บางพรม ตลิ่งชัน กทม. ๑๐๑๗๐
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเพลง (กลางสวน)
เจ้าคณะแขวงบางเชือกหนังเขต ๒
และเป็นพระอุปัชฌาย์
๒. สถานะเดิม
ชื่อ นายไพรัช นามสกุล ธรรมชาติ เกิดวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ปีมะแม
บิดา นายไสว มารดา นางจรัญนามสกุล ธรรมชาติ
ณ บ้านเลขที่ ๔๓ หมู่ที่ ๖ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
๓. บรรพชา – อุปสมบท
วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ณ วัดคลองใหญ่ ต.คลองใหญ่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
๔. พระอุปัชฌาย์ พระครูกัลยาณานุรักษ์ วัดห้วงโสม จังหวัดตราด
พระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการบุญช่วย อินฺทโชโต วัดหาดเล็ก จังหวัดตราด
พระอนุสาวนาจารย์ พระประวิช ณฏฺฐวโร วัดคลองจาก จังหวัดตราด
๕. วิทยฐานะ
(๑) พ.ศ. ๒๕๒๔ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาชั้นที่ ๖ โรงเรียนบ้านเนินตาล ตำบลคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
(๒) พ.ศ. ๒๕๓๔ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ที่สำนักเรียนวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
(๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
(๔) พ.ศ. ๒๕๔๐ สอบไล่ได้อภิธรรม ชั้นมหาเอก เป็นอภิธรรมบัณฑิต ที่สำนักเรียน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และสำนักเรียนวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
(๕)พ.ศ. ๒๕๖๕ กำลังศึกษา พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎก ปี ๓ ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จ.พระนครศรีอยุธยา
๖. ความสามมารถพิเศษ
- ทรงพระปาติโมกข์
- สอน/บรรยายพระอภิธรรม
๗. งานปกครอง
(๑) พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะ ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
(๒) พ.ศ. ๒๕๕๒ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเพลง (กลางสวน) วันที่ ๓๐ เมษายน เป็นพระกรรมวาจาจารย์วันที่ ๑๑ พฤษภาคม เป็นเจ้าอาวาสวัดเพลง (กลางสวน)
(๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ วันที่ ๒๙ สิงหาคม เป็นผู้รักษาการ เจ้าคณะแขวงบางเชือกหนังเขต ๒วันที่ ๒๘ กันยายน เป็นเจ้าคณะแขวงบางเชือกหนังเขต ๒
(๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ วันที่ ๒๘ มกราคม เป็นพระอุปัชฌาย์
๗. งานด้านการศึกษา
-
พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นครูสอนโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
-
พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงปัจจุบัน เป็นครูสอนสอนพระอภิธรรม ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
-
พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นครูสอนพระอภิธรรมที่วัดสามพระยา
-
พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นครูสอนพระอภิธรรม ที่กรมพลาธิการทหารเรือ และกรมเจ้าท่า
-
พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นครูสอนพระอภิธรรม ที่บริษัทยูไนเต็ดฟูดส์ จำกัด
-
พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นครูสอนนักธรรมชั้นเอกที่วัดประยุรวงศาวาส
-
พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน รับบรรยายธรรมตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่
-
โรงพยาบาลราชวิถี
-
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
-
มูลนิธิ อโรคยา
-
และหน่วยงานราชการทั่วไป
-
-
พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ เปิดสอนพระสูตร และพระอภิธรรม ที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร คณะ ๓ ทุกวันพฤหัสบดี และวันพฤหัสสุดท้ายของเดือน นำคณะญาติโยมที่มาศึกษา ปฏิบัติธรรม ณ ภายในพระอุโบสถ
-
พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นครูสอนพระอธิธรรมที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
-
พ.ศ. ๒๕๔๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นครูสอนพระอภิธรรม ที่มูลนิธิพระสัทธรรม
-
พ.ศ. ๒๕๔๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๑ นำนักศึกษาพระอภิธรรม และประชาชนทั่วไป ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปีละ ๑ ครั้ง
-
พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงปัจจุบัน เป็นครูสอนพระอภิธรรม ที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
-
พ.ศ. ๒๕๕๖ ถึงปัจจุบัน เปิดสำนักเรียนพระอภิธรรมที่วัดเพลง (กลางสวน) และเป็นอาจารย์สอนพระอภิธรรม ที่วัดเพลง (กลางสวน) ปัจจุบัน ที่วัดเพลง(กลางสวน) มีการเรียนการสอนพระอภิธรรม ๙ ชั้น มีการเรียนการสอนนักธรรมตรี, โท,เอก รวมทั้งหมด ๖ วัด ในแขวงบางเชือกหนัง เขต ๒ มารวมเรียนที่วัดเพลง (กลางสวน)
-
พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้รับการแต่งให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร แห่งที่ ๖๔
๘. สมณศักดิ์
-
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับตั้งเป็น พระครูฐานานุกรม ของพระพุทธวรญาณ อดีตเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่ พระครูธรรมธร
-
พ.ศ. ๒๕๕๖ วันที่ ๖ ธันวาคม รับตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ของพระธรรมสุธี อธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ที่ พระครูปลัดธีรวรวัฒน์
-
พ.ศ. ๒๕๕๗ วันที่ ๕ ธันวาคม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระครูภาวนาธีรวรคุณ วิ.
-
๙. นโยบายและวัตถุประสงค์
-
สนับสนุนให้ภิกษุ – สามเณร ได้ศึกษาพระปริยัติธรรม
-
เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัด กับชุมชน
-
เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ให้เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรม
-
เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาพระอภิธรรม แก่ภิกษุ – สามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป
-
ส่งเสริมให้เป็นสถานที่จัดอบรมเยาวชน
-
โครงการสร้างอาคาร เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา และปฏิบัติธรรม
-
ปลูกป่าเพื่อให้เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์
-
เพื่อเป็นศูนย์เผยแผ่ธรรม